มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้รับสนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557 ซึ่ง มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ได้ดำเนินงานของแผนแม่บท อพ.สธ. โดยมีกิจกรรม 8 กิจกรรม ภายใต้ 3 กรอบ คือ กรอบการเรียนรู้ทรัพยากร กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากร กิจกรรมปกปักทรัพยากร และกิจกรรมปลูกรักษาทรัพยากร กรอบการใช้ประโยชน์ กิจกรรมอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากร การทำวิจัยร่วมกับคณะต่างๆ ศึกษาศักยภาพพืชอาหารและพืชสมุนไพร การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช กิจกรรมศูนย์ข้อมูลทรัพยากร ข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพข้อมูลพรรณไม้ตลอดจนภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์ทรัพยากรและ กรอบการสร้างจิตสำนึก กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร ดำเนินงานตามสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โดยบูรณาการในการเรียนการสอนในวิชาอัตลักษณ์บัณฑิตวไลยอลงกรณ์ วิชาจริยธรรมสิ่งแวดล้อมและวิชาสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การศึกษาการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรพืชและการใช้ประโยชน์จากพืชพรรณ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยมีโครงการพัฒนาห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ และยังได้จัดพิมพ์หนังสือ จัดทำซีดี เอกสารเผยแพร่ความรู้ และจัดอบรมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและครูเครือข่ายของมหาวิทยาลัย
ประวัติโครงการ
ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ
ปรัชญา (Philosophy) สืบสานงานอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ วิสัยทัศน์ (Vision) ศึกษาภูมิปัญญาและทรัพยากรไทย อนุรักษ์และสร้างเครือข่ายในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน พันธกิจ (Mission) โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยดำเนินงานภายใต้ 3 กรอบงาน และได้มี แนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากร
1. โครงการสำรวจทรัพยากรพืช ในมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์จังหวัดปทุมธานี และศูนย์ให้การศึกษาสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว
2. โครงการเก็บรวบรวมตัวอย่างแห้งและดองเพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้หรือเก็บในพิพิธภัณฑ์
3. โครงการศึกษาทรัพยากรทางชีวภาพและกายภาพ
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมปลูกรักษาทรัพยากร
1. โครงการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ
2. โครงการศูนย์ศึกษาระบบนิเวศป่าเขตร้อนชื้นในพื้นที่ราบลุ่มริมน้ำ
กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ทรัพยากร
1. โครงการศึกษาพืชอาหารและพืชสมุนไพรท้องถิ่น เพื่อการอนุรักษ์ และใช้ประโยชน์ตามภูมิปัญญาและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน
กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมศูนย์ข้อมูลทรัพยากร
1. โครงการศูนย์ข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพท้องถิ่น
2. โครงการจัดทำหนังสือและสื่อเผยแพร่ความรู้
3. โครงการจัดทำเว็บไซต์ ประชาสัมพันธ์หน่วยงานและเผยแพร่ความรู้ (อพ.สธ.-มรว.)
กิจกรรมที่ 7 กิจกรรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร
1. โครงการสร้างจิตสำนึก (กิจกรรมงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน)
2. โครงการสร้างจิตสำนึก (กิจกรรมอบรมและสร้างเครือข่าย)
3. โครงการสร้างจิตสำนึก (กิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ทรัพยากรไทย)
4. โครงการพัฒนาและสร้างจิตสำนึกให้กับนักเรียนโรงเรียน ตชด. ในการอนุรักษ์ทรัพยากร
กิจกรรมที่ 8 กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร
1. โครงการบูรณาการร่วมกับท้องถิ่น หมู่บ้าน ชุมชนในการอนุรักษ์ทรัพยากร
2. โครงการนิทรรศการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและฐานทรัพยากรท้องถิ่น ระดับภูมิภาค
3. โครงการจัดตั้งศูนย์สัมมนาโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช
4. โครงการปรับปรุงสถานีวิจัยระบบนิเวศ
เป้าประสงค์ (Goals)
1. สร้างจิตสำนึกให้แก่นักศึกษาและประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการอนุรักษ์ทรัพยากรและใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
2. ดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สนับสนุนการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรทุกองศ์ประกอบอย่างต่อเนื่อง
3. เผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและจัดแสดงนิทรรศการทางวิชาการในการอนุรักษ์ทรัพยากรและใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนตามแนวพระราชดำริฯ
4. สร้างเครือข่ายความร่วมมือกับทุกภาคส่วนของท้องถิ่นและสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน