ชื่อ

กระพี้จั่น


ชื่อวงศ์
LEGUMINOSAE – PAPILIONOIDEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์
Millettia brandisiana Kurz

ชื่อสามัญ
-

ชื่ออื่นๆ
จั่น ปี้จั่น (ทั่วไป) ปี้จั่น (ภาคเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ต้น : ไม้ต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 8-20 เมตร ผลัดใบแต่ผลิใบใหม่เร็วมาก ทรงพุ่มแน่นทึบ เนื้อไม้สีน้ำตาลอมเหลือง ใบ : ประกอบแบบขนนก ออกเวียนสลับ มีใบย่อย 7-21 ใบ แผ่นใบย่อยรูปรีแกมขอบขนาน กว้างประมาณ 1 - 3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 3-7 เซนติเมตร ปลายใบเรียวแหลม โคนใบมนหรือแหลม แผ่นใบบาง ดอก : ดอกช่อแบบช่อแยกแขนง ออกตามซอกใบบริเวณกิ่งและปลายกิ่ง ลักษณะช่อแขนงค่อนข้างโปร่ง แต่ละช่อมีดอก 15-20 ดอก สีม่วงแกมขาวหรือสีชมพูอมม่วง ดอกตูมมีสีน้ำตาลเข้มหรือม่วงดำ ผล : ผลเป็นฝักแบน รูปขอบขนาน ปลายแหลม ขอบฝักเป็นสันหนาและแข็ง เปลือกหนา ส่วนปลายและกลางกว้างกว่าส่วนโคนฝัก ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่มีสีน้ำตาลอมเหลือง


การขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด

การใช้ประโยชน์
เปลือกต้นต้มเอาน้ำใช้ล้างบาดแผลเรื้อรัง แก่นบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย บำรุงโลหิต บำรุงธาตุและช่วยเจริญอาหาร

บริเวณที่พบในมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
สวนหย่อม หน้าอาคารเรือนไทย

rspg.vru.ac.th

งานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช.
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์