ชื่อ

ขี้เหล็กบ้าน


ชื่อวงศ์
LEGUMINOSAE - CAESALPINIOIDEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์
Senna siamea (Lam.) Irwin & Barneby

ชื่อสามัญ
Cassod tree, Thai copper pod

ชื่ออื่นๆ
ขี้เหล็กแก่น (ราชบุรี) ขี้เหล็กใหญ่ (ภาคกลาง) ขี้เหล็กหลวง (ภาคเหนือ) ขี้เหล็กจิหรี่ (ภาคใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : ไม้ต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 8-15 เมตร ผลัดใบ เปลือกนอกสีเทาจนถึงสีน้ำตาลดำ ลำต้นแตกเป็นร่องตื้นๆ เปลือกในสีน้ำตาลอ่อน

          ใบ : ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ออกเรียงสลับ ใบย่อย 13-19 ใบ รูปรี กว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ปลายใบเว้าตื้น โคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ก้านใบ         สีน้ำตาลแดง

          ดอก : ดอกช่อแบบช่อแยกแขนง ออกที่ปลายกิ่ง ดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงกลม มี 3- 4 กลีบ ปลายมน กลีบดอก 5 กลีบ ปลายมน โคนเรียว หลุดร่วงง่าย ก้านดอกยาวประมาณ 1-1.5 เซนติเมตร เกสรเพศผู้มีหลายอัน

          ผล : ผลเป็นฝักแบนยาว กว้างประมาณ 1.3 เซนติเมตร ยาวประมาณ 15-23 เซนติเมตร หนา          สีน้ำตาล เมล็ดมีจำนวนมาก


การขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด

การใช้ประโยชน์
เปลือกต้นแก้โรคริดสีดวงทวาร โรคหิด แก้กระษัย เป็นยาระบาย ใบแก้บิด แก้โรคเบาหวาน แก้ร้อนใน และแก้ฝีมะม่วง

บริเวณที่พบในมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
ข้างบ้านพักอาจารย์ ฝั่งทิศใต้

rspg.vru.ac.th

งานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช.
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์