ชื่อ

กระดังงาสงขลา


ชื่อวงศ์
ANNONACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์
Cananga odorata (Lam.) Hook.f & Thomson var. fruticosa

ชื่อสามัญ
Dwarf Ylang-Ylang

ชื่ออื่นๆ
กระดังงอ กระดังงาเบา กระดังงาสาขา

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : ไม้พุ่มยืนต้นขนาดเล็กถึงขนากลาง สูงประมาณ 2-5 เมตร เปลือกต้นสีเทาอมสีน้ำตาล มีกลิ่นฉุน เนื้อไม้เปราะ ลำต้นแตกกิ่งก้านเป็นพุ่มทึบ กิ่งตั้งฉากกับลำต้นปลายย้อยลู่ลงที่กิ่ง มีขนอ่อน

          ใบ : ใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปรี ปลายใบแหลม โคนใบมนเว้าหรือเบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบเรียบและเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบกว้างประมาณ 5-8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 10-14 เซนติเมตร แผ่นใบมีสีเขียวบางและอ่อน มีเส้นแขนงของใบประมาณ 8-9 คู่ มองเห็นเส้นใบได้ชัดเจน ก้านใบยาวประมาณ 1-2.5 เซนติเมตร

          ดอก : ดอกเดี่ยวหรือช่อกระจุก ออกตามกิ่ง ดอกสีเหลือง มีกลิ่นหอมแรง กลีบดอก 15-24 กลีบ กว้างประมาณ 0.5-1.8 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5-9 เซนติเมตร เรียงเป็นชั้นหลายชั้น ชั้นละ 3 กลีบ กลีบเรียวยาวบิดเป็นเกลียว และอ่อนนิ่ม ปลายกลีบแหลม กระดกขึ้น กลีบชั้นนอกยาวและใหญ่กว่ากลีบชั้นใน

ผล : ผลกลุ่ม มีผลย่อยประมาณ 8-10 ผล รูปทรงกลมรี ปลายผลแหลม ผลกว้างประมาณ 1.2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.5-1.8 เซนติเมตร ผิวเรียบ ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีเขียวอมเหลือง มีเมล็ด        จำนวนมาก


การขยายพันธุ์
ตอนกิ่ง

การใช้ประโยชน์
เนื้อไม้และใบ เป็นยาขับปัสสาวะ ดอกเป็นยาหอม สกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย แก้ลมวิงเวียน

บริเวณที่พบในมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
สวนหย่อม หน้าอาคารเรือนไทย

rspg.vru.ac.th

งานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช.
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์