ชื่อ

คำมอกหลวง


ชื่อวงศ์
RUBIACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์
Gardenia sootepensis Hutch.

ชื่อสามัญ
Golden gardenia

ชื่ออื่นๆ
แสลงหอมไก๋ หอมไก๋ (ลำปาง) ไข่เน่า (นครพนม) ยางมอกใหญ่ (นครราชสีมา) คำมอกช้าง (ภาคเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
          ต้น : ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนากลาง สูงประมาณ 5-10 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดกลม แผ่กว้าง ทรงพุ่มโปร่ง เปลือกต้นแข็งและหนา สีเทา ค่อยข้างเรียบ หลุดออกเป็นแผ่น มีขนนุ่มที่กิ่งก้าน ทุกส่วนมีน้ำยางสีเหลือง

          ใบ : ใบเดี่ยว ออกเรียงตรงข้ามสลับตั้งฉาก โดยออกเป็นกระจุกที่ปลายยอด ใบรูปรีหรือรูปไข่      ปลายใบแหลมหรือมน มีหางสั้นๆ โคนใบมน ขอบใบเรียบ ใบกว้างประมาณ 4-15 เซนติเมตร และยาวประมาณ 9-28 เซนติเมตร

          ดอก : ดอกเดี่ยว ออกที่ปลายยอดหรือตามซอกใบ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-7 เซนติเมตร     ดอกสีเหลืองเข้ม กลีบดอก 5 กลีบ โคนกลีบดอกเชื่อมติดกันเป็นหลอด หลอดกลีบดอก ยาวประมาณ 5-7 เซนติเมตร

          ผล : ผลรูปไข่หรือรูปขอบขนาน มีสันตื้น 5 สัน ผลกว้าง 2-3 เซนติเมตร ยาว 3-5 เซนติเมตร ผลสุกสีเหลือง มีเนื้อสีน้ำตาลเหลือง เมล็ดขนาดเล็กจำนวนมาก


การขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด

การใช้ประโยชน์
แก่นปรุงเป็นยาแก้โรคเบาหวาน เมล็ดต้มเคี่ยวกับน้ำเป็นยาสระผมฆ่าเหา

บริเวณที่พบในมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
สวนหย่อม หน้าอาคารเรือนไทย

rspg.vru.ac.th

งานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช.
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์