ชื่อ

กันเกรา


ชื่อวงศ์
GENTIANACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์
Fagraea fragrans Roxb.

ชื่อสามัญ
Anan, Tembusu

ชื่ออื่นๆ
มันปลา (ภาคเหนือ, ภาคอีสาน) ตำแสง ตำเสา ทำเสา (ภาคใต้)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : ไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ต้นสูงประมาณ 15-20 เมตร เปลือกต้นสีน้ำตาล ผิวเรียบ เมื่อลำต้นแก่จะแตกเป็นร่องลึกตามยาว แก่นมีความแข็งแรง คงทน

ใบ : ใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้ามกัน ใบหนาแน่นที่ปลายกิ่ง ใบเป็นรูปรี สีเขียวเข้มเป็นมัน ปลายใบและโคนใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ เนื้อใบค่อนข้างเหนียว ใบกว้างประมาณ 4-6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-12 เซนติเมตร

ดอก : ดอกช่อออกตามซอกใบ เมื่อเริ่มบานมีสีขาว เมื่อบานเต็มที่มีสีเหลืองอมแสด โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดสั้น ปลายแยกออกเป็น 5 แฉก ออกดอกในช่วงเดือนเมษายน-มิถุนายน

ผล : ผลเดี่ยว ทรงกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6-8 มิลลิเมตร ผิวเรียบเป็นมัน มีติ่งแหลมสั้น อยู่ตรงปลายสุด ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกมีสีแดงเลือดนก มีรสขม


การขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด

การใช้ประโยชน์
แก่นบำรุงธาตุ แก้อาการแน่นหน้าอก เปลือกต้นบำรุงโลหิต

บริเวณที่พบในมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
สวนหย่อม หน้าอาคารเรือนไทย

rspg.vru.ac.th

งานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช.
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์