ชื่อ

แก้วเจ้าจอม


ชื่อวงศ์
ZYGOPHYLLACEAE

ชื่อวิทยาศาสตร์
Guaiacum officinale L.

ชื่อสามัญ
Lignum vitae

ชื่ออื่นๆ
-

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : ไม้ต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 10-15 เมตร ไม่ผลัดใบ เรือนยอดทรงกลมค่อนข้างหนาทึบ เปลือกต้นสีเทาเข้ม

ใบ : ใบประกอบแบบขนนกปลายคู่ เรียงตรงข้าม มีใบย่อย 2-3 คู่ ใบย่อยรูปรีหรือรูปไข่กลับ มีขนาดไม่เท่ากัน ปลายใบมน โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน มีจุดสีส้มที่โคนใบย่อยด้านบน ผิวใบด้านล่างสีอ่อนกว่า

ดอก : ดอกเดี่ยวออกเป็นกระจุก 3-4 ดอก ที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยง 5 กลีบ รูปไข่ โคนเชื่อมติดกันเล็กน้อย มีขน ร่วงง่าย กลีบดอก 5 กลีบ รูปรีหรือรูปไข่ กว้างประมาณ 1 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร ดอกสีฟ้าอมม่วงและจางลงเมื่อใกล้โรย มีกลิ่นหอม

ผล : ผลสด ทรงกลมแป้นหรือรูปหัวใจกลับ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 เซนติเมตร มีครีบ 2 ข้าง เมื่อแก่มีสีเหลืองหรือสีส้ม เมล็ดสีน้ำตาล จำนวน 1-2 เมล็ด


การขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด และตอนกิ่ง

การใช้ประโยชน์
ยางจากต้นเป็นยาขับเสมหะ ยาระบาย ขับเหงื่อ แก้ข้ออักเสบ ใช้ร่วมในยาฟอกเลือด ทำเป็นยาอมแก้ต่อมทอนซิลและหลอดลมอักเสบ

บริเวณที่พบในมหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์
หน้าอาคารศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

rspg.vru.ac.th

งานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช.
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์